ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
1.สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการและแว่นนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในห้องปฏิบัติการเคมี
ผู้ที่สวมแว่นสายตาอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้แว่นนิรภัย
2.ห้ามเล่นและห้ามรับประทานอาหาร
เครื่องดื่ม หรือสูบบุหรี่ในห้องปฏิบัติการเคมี
3.ห้ามทำการทดลองใดๆ
นอกเหนือจากที่ได้มอบหมาย
4.ห้ามทำการทดลองโดยไม่มีผู้ควบคุม
5.เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ให้รายงานผู้ควบคุมทราบทันที
6.ห้ามชิมสารเคมีใดๆ
ทั้งสิ้น
7.เมื่อใช้ปิเปตดูดสารละลาย
ห้ามใช้ปากดูด
8.ใช้เครื่องแก้วด้วยความระมัดระวัง
เมื่อทำเครื่องแก้วแตกต้องเก็บกวาดให้เรียบร้อย
9.สำหรับปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สพิษ
กรดเข้มข้น หรือแอมโมเนียให้ทำการทดลองในตู้ดูดควันเสมอ
10.ห้ามทิ้งสารเคมีใดๆ
ลงในถังขยะ สารเคมีที่ละลายในน้ำได้ให้ละลายในน้ำแล้วเทลงอ่างน้ำทิ้ง
สารที่ไม่ละลายในน้ำ ให้เทรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้
ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการเคมี
1.รักษาความสะอาดเรียบร้อยในห้องปฏิบัติการ
เมื่อทำการทดลองเสร็จสิ้นแล้ว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดโต๊ะ ให้สะอาด
ถ้าทำสารเคมีหกบนโต๊ะหรือบนพื้น ให้ทำความสะอาดทันที
2.ก่อนใช้สารเคมีชนิดใดก็ตาม
ให้อ่านฉลากชื่อสารให้แน่ใจเสียก่อน
3.ห้ามยกขวดหรือภาชนะใส่สารเคมีส่วนกลางไปใช้ที่โต๊ะ
4.ไม่เติมสารเคมีมากเกินความจำเป็น
5.สารเคมีที่ใช้ไม่หมด
ไม่ควรใส่กลับลงในขวดเก็บสารนั้นอีก
6.ไม่ใช้ปิเปตหรือหลอดหยดที่ใช้แล้วดูดสารละลายจากขวดที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อื่นหรือจากขวดที่มีหลอดหยดอยู่แล้ว
7.ไม่ทิ้งก้านไม้ขีดไฟ
กระดาษลิตมัสหรือของแข็งใดๆ ที่ไม่ละลายน้ำลงในอ่างล้างมือ
8.ห้ามเผาเครื่องแก้วชนิดเนื้อแก้วหนา
เช่น กระบอกตวง บิวเรต หรือขวดใส่สารด้วยเปลวไฟจากตะเกียงโดยตรงเพราะอาจแตกได้ง่าย
ส่วนถ้วยกระเบื้องอาจเผาในเปลวไฟโดยตรงได้ แต่ไม่ควรเผาให้ร้อนเร็วเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น